วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ความหมายและความสำคัญของกลไกราคา

กลไกราคากับระบบเศรษฐกิจ

        1. กลไกราคา  หมายถึง  ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้าและบริการอันเกิดจากแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน เมื่อผู้ผลิตพยายามปรับปรุงการผลิตและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าราคาสินค้าและบริการเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน ตลอดจนเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนราคาให้เข้าสู่จุดดุลยภาพ  เช่น  เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ก็จะลดลง แต่อุปทานของสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้น  เป็นต้น

      กลไกราคาจะพบได้ในทุกตลาด ยกเว้น ตลาดแบบผูกขาด  เพราะกลไกราคาจะเกิดได้เฉพาะตลาดที่มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะของตลาดเสรีหรือประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบผสมเท่านั้น โดยระบบเศรษฐกิจเหล่านี้จะมีกลไกราคาเป็นตัวกำหนดว่าจะผลิตสินค้าปริมาณเท่าใดและราคาเท่าใด
    การกำหนดราคาสินค้าและบริการในทางเศรษฐกิจ กำหนดไว้ 2 วิธี  คือ
1. ให้กลไกราคาเป็นเครื่องมือในการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามแรงผลักดันของอุปสงค์แลอุปทาน
2. รัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการด้วยการควบคุมและแทรกแซงราคาสินค้าและบริการด้วยวิธีกำหนดราคาเมื่อสินค้าที่จำเป็นขาดตลาด เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค  , การประกันราคาขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต , การพยุงราคาสินค้าไม่ให้ตกต่ำมากเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ให้ขาดทุน


  2. อุปสงค์  (Demand)  หมายถึง  ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคที่เต็มใจจะซื้อและซื้อหามาได้ ณ ระดับราคาต่างๆที่ตลาดกำหนดให้  กล่าวคือ เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้นแล้ว ก็จะสามารถมีกำลังซื้อสินค้านั้นได้ แต่ถ้าผู้บริโภคไม่สามารถที่จะซื้อหรือไม่มีกำลังซื้อ ก็จะไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ตามความหมายในทางเศรษฐศาสตร์

    2.1 กฎของอุปสงค์  (Law  of  Demand)  หมายถึง  ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการในราคาต่ำ(ราคาถูก) ในปริมาณมากกว่าซื้อสินค้าในราคาสูง(ราคาแพง)
    2.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์
        การที่ผู้บริโภคจะทำการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
        1. ราคาสินค้าและบริการ(ตามกฎของอุปสงค์)                    
        2. รายได้ของผู้บริโภค          
        3. รสนิยมของผู้บริโภค        
        4. สมัยนิยม          
        5. การโฆษณาและเทคนิคการตลาด    
        6. ราคาสินค้าหรือบริการอื่นๆที่ต้องใช้ร่วมกันหรือแทนกันได้
        7. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค                               
        8. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค
        9. พฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น ฤดูกาล    การศึกษา          
      10. ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ                               

3. อุปทาน (Supply)  หมายถึง  ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ขายหรือผู้ผลิตยินดีขายหรือผลิตให้แก่ผู้ซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆตามที่ตลาดกำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มสูงขึ้น ผู้ผลิตก็ยินดีที่จะเสนอขายมากขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าชนิดนั้นลดลงปริมาณของอุปทานก็จะลดลงตามไปด้วย

    3.1 กฎของอุปทาน  (Law  of Supply)  หมายถึง  ผู้ผลิตมีความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการในราคาสินค้าและบริการที่สูง(ราคาแพง) ในปริมาณมากกว่าราคาสินค้าและบริการที่ต่ำ(ราคาถูก)
    3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปทาน
        การที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังนี้
        1. ราคาสินค้าและบริการในขณะนั้นๆ (กฎของอุปทาน)                   
        2. ต้นทุนการผลิตที่เปลี่ยนแปลง (วัตถุดิบ)
        3. เทคโนโลยีการผลิตที่นำมาใช้                          
        4. ฤดูกาล                                
        5. สภาวะของตลาดและภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น
   6. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการของผู้ผลิต (การเกิดกำไร)
   7. จำนวนผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่ง (ราคาสินค้าและบริการชนิดเดียวกันที่มีการแข่งขันกัน)

4. ดุลยภาพ (Equilibrium)

           กลไกราคาทำงานโดยได้รับอิทธิพลจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ว่า ณ เวลาใด เวลาหนึ่ง ถ้าปริมาณความต้องการหรือปริมาณอุปสงค์ต่อสินค้าในตลาดมีมากเกินกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตจะยินดีขายให้ ราคาสินค้าก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการขาดแคลนของสินค้า แต่ถ้าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตประสงค์จะขายให้ผู้บริโภค หรือปริมาณอุปทานของสินค้ามีมากกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคประสงค์จะซื้อ ราคาสินค้านั้นก็จะมีแนวโน้มลดต่ำลง  เมื่อปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานเท่ากัน ราคาสินค้าจึงจะอยู่นิ่ง หรือที่เรียกว่า มีเสถียรภาพไม่ปรับขึ้นลงอีก ยกเว้นว่า จะมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ตลาดต้องเปลี่ยนแปลงไป

7 ความคิดเห็น:

  1. องค์ประกอบของกลไกราคาคืออะไร

    ตอบลบ
  2. If you're looking to lose pounds then you have to get on this totally brand new custom keto meal plan diet.

    To create this keto diet service, licenced nutritionists, personal trainers, and top chefs united to produce keto meal plans that are efficient, decent, economically-efficient, and fun.

    Since their first launch in January 2019, 100's of clients have already transformed their body and well-being with the benefits a certified keto meal plan diet can give.

    Speaking of benefits: clicking this link, you'll discover eight scientifically-tested ones given by the keto meal plan diet.

    ตอบลบ
  3. กลไกลราคามีความสำคัญต่อการผลิตอย่างไร

    ตอบลบ
  4. กลไกตลาดใช้ได้มีประสิทธิภาพกับสินค้าประเภทใด

    ตอบลบ
  5. กลไกลราคาเกี่ยวข้องกับชีวิตอย่างไร

    ตอบลบ
  6. องค์ประกอบของกลไกราคาคืออะไรครับ

    ตอบลบ